บทที่ 6

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ




โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ            

    โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ

       การประกอบอาชีพเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชากรเวลากว่า 1 ใน 3 ใช้ไปกับการประกอบอาชีพ การจัดสภาพในที่ประกอบอาชีพให้เหมาะสมปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อผู้ประกอบอาชีพ จึงมีความสำคัญ โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ หมายความถึงโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ โดยแบ่งตามสาเหตุหรือลักษณะการเกิดโรค เป็น 2 ประเภทคือ
1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ  หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนโดยมีสาเหตุประกอบอาชีพเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ประกอบอาชีพ ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากทำงานเป็นเวลานาน และโรคบางอย่างอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกคามสุขภาพ ปริมาณสารที่ได้รับ และโอกาสหรือวิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส (โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารทำละลายต่าง ๆ   ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในเชิงสาเหตุและผลกระทบ
2. โรคเนื่องจากการประกอบอาชีพ หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนประกอบอาชีพ โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกันและการประกอบอาชีพ เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค ทั้งนี้ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดโรค อาจได้แก่ พันธุ์กรรม พฤติกรรมสุขภาพของคนประกอบอาชีพ ท่าทางการประกอบอาชีพ ลักษณะหรือระบบงานที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น โรคปวดหลังจากการประกอบอาชีพ โรคความดันโลหิตสูงเป็นต้น โดยสรุป การเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ ถ้ามีปัจจัยจากภายนอกมาทำให้เกิดโรค ก็ถือเป็นโรคจากอาชีพ เช่น โรคพิษตะกั่ว (ตะกั่วไม้ใช่สารองค์ประกอบของร่างกาย) โรคซิลิโคสิส (ฝุ่นหินเป็นสารแปลกปลอมในปอด) เป็นต้น แต่ถ้ามีสาเหตุจากปัจจัยส่วนตัวร่วมกับสภาพและสิ่งแวดล้อมการประกอบอาชีพทำให้อาการของโรคมากขึ้น หรือเกิดความผิดปกติชัดเจนยิ่งขึ้น ก็ถือเป็นกลุ่มโรคเนื่องจากการประกอบอาชีพ เช่น โรคปวดหลัง ซึ่งคนที่มีอริยาบถไม่ถูกต้องมีแนวโน้มปวดหลังได้ง่าย เมื่อต้องมาประกอบอาชีพรีบเร่งหรือยกย้ายของหนัก ๆ ก็ยิ่งทำให้ปวดหลังง่ายขึ้นหรือทำให้อาการปวดหลังกำเริบมากขึ้น เป็นต้น
ปัจจัยหลักโรคเกิดจากการประกอบอาชีพมีอยู่3ปัจจัยคือ             1.สภาพของผู้ประกอบอาชีพ (workers) เด็กและผู้สูงอายุหรือสตรีมีครรภ์มีโอกาสเกิดโรคจากการประกอบอาชีพได้มากขึ้น  ลักษณะรูปร่างของคนงานที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการประกอบอาชีพสามารถก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อและกระดูก  กรรมพันธุ์มีผลต่อการเกิดโรคบางชนิดได้ เช่น ผู้ป่วยที่เป็น seroderma pigmentosum ซึ่งมีความบกพร่องในการซ่อมแซม DNA ทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังจากการสัมผัสถูกแสงแดดได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป พฤติกรรมของผู้ทำงานมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการเกิดโรคเกิดจากการประกอบอาชีพ เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่จะทำให้ผู้ประกอบอาชีพมีโอกาสเกิดโรคตับ หรือโรคปอดจากการประกอบอาชีพได้มากขึ้น ประสบการณ์ประกอบอาชีพของผู้ประกอบอาชีพมีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการประกอบอาชีพ โดยผู้ที่มีประสบการณ์น้อยมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ประสบการณ์ การประกอบอาชีพที่น้อยยังอาจส่งผลให้ขาดการระมัดระวังในการประกอบอาชีพ ที่ต้องสัมผัสกับสิ่งคุกคามต่อสุขภาพต่างๆในที่ทำงานอีกด้วย
              2.สภาพงาน (work conditions) ได้แก่ ระบบการประกอบอาชีพ หน้าที่ความรับผิดชอบ การประกอบอาชีพเป็นกะ ค่าจ้าง สวัสดิการ และความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมีผลเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ เช่น ระบบการประกอบอาชีพที่มุ่งเน้นที่จำนวนผลผลิตจะกระตุ้นให้คนงานประมาทขาดความระมัดระวังในการป้องกันอันตราย การประกอบอาชีพเป็นกะ โดยมีการเปลี่ยนกะอยู่เป็นประจำทำให้คนงานมีปัญหาโรคกระเพาะอาหาร โรคหัวใจและปัญหาทางด้านจิตใจและสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในที่ประกอบอาชีพ มีผลต่อจิตใจและผลผลิตในการประกอบอาชีพ

สิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพ(workingenvironments)1. สิ่งแวดล้อมด้านภายภาพ (physical environments) ได้แก่ แสงที่จ้าเกินไปหรือมืดเกินไปมีผลต่อสายตาและสภาพความเครียด เสียงที่ดังเกินไป (noise) ส่งผลให้เกิดภาวะหูเสื่อม อุณหภูมิร้อนหรือหนาวเกินไปทำให้สมดุลย์ของร่างกายเสียไปแรงสั่นสะเทือน
2. สิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ (biological environments) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในที่ประกอบอาชีพ ได้แก่ เชื้อโรคชนิดต่างๆ ในสถานพยาบาล สัตว์นำโรคหรือสัตว์มีพิษต่างๆ ที่พบในภาคเกษตรกรรมและเชื้อโรคและสัตว์ทดลองในห้องทดลองวิจัย
3. สิ่งแวดล้อมด้านเคมี (chemical environments) ได้แก่ สารเคมี โลหะหนัก ในรูปฝุ่น ควัน หมอก ละออง ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายทั้งทางการหายใจ การกิน หรือผิวหนัง สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพผู้ประกอบอาชีพได้ทุกระบบทั้งเฉียบพลันเรื้อรังและอาจก่อให้เกิดมะเร็ง
4. สิ่งแวดล้อมทางด้านจิตใจ (psychological environments) ได้แก่ สภาพความเครียดในการประกอบอาชีพ (occu-pational stress) ความเหนื่อยล้าจากการประกอบอาชีพ (burnout)  ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดโรคทางกายได้(psychosomaticdisorders)
5. สิ่งแวดล้อมด้านกายศาสตร์ (ergonomics) กายศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการนำเอาศาสตร์ต่างๆ มาปรับใช้กับการจัดสถานที่ประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับผู้ประกอบอาชีพ การที่ลักษณะที่ประกอบอาชีพ เข้ากันไม่ได้กับตัวผู้ประกอบอาชีพ จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุและโรคเกิดจากการประกอบอาชีพได้ เช่น การที่คนงานต้องก้มๆ เงยๆ ประกอบอาชีพ อยู่ตลอดวันทำให้คนงานมีโอกาสเกิดอาการปวดหลังขึ้นได้ โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ส่วนมากไม่สามารถรักษาได้หรือมีความพิการหลงเหลืออยู่หลังการรักษา ดังนั้นหนทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับโรคเกิดจากการประกอบอาชีพ คือ การป้องกันโรคการค้นหาวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรค ให้การรักษา และฟื้นฟูสภาพให้กลับเป็นปกติ หลักสำคัญที่จะทำการรักษาและฟื้นฟูได้คงต้องมีการวินิจฉัยที่ถูกต้องนำมาก่อน หลักการวินิจฉัยโรคเกิดจากการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย การวินิจฉัยโรค โดยอาศัยหลักการทางการแพทย์ทั่วไปในการวินิจฉัยว่าผู้ประกอบอาชีพป่วยเป็นโรคใด การซักประวัติการทำงานโดยละเอียด มิใช่เพียงคำถามว่าประกอบอาชีพอะไรเท่านั้น การซักประวัติการประกอบอาชีพ ควรประ กอบด้วย
  ประวัติการเจ็บป่วยทั่วไป  
           ประวัติปัจจุบัน ซักถามถึงช่วงเวลาที่มีอาการ หากมีอาการช่วงวันประกอบอาชีพและอาการดีขึ้นในช่วงวันหยุด อาจส่อเค้าว่ามีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพ มีเพื่อนร่วมงานมีอาการเช่นเดียวกันหรือไม่   ประวัติอดีต งานในอดีตมีการสัมผัสกับสิ่งคุกคามต่อสุขภาพใดบ้าง   ประวัติการประกอบอาชีพ สอบถามงานที่ทำตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยลงรายละเอียดถึงสภาพงานและสภาพแวดล้อมในการประกอบอาชีพ ตลอดจนสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในการประกอบอาชีพต่างๆ มีการจัดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลหรือวิธีการควบคุมสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในที่ประกอบอาชีพอย่างไรบ้าง การตรวจสุขภาพก่อนเข้าประกอบอาชีพและระหว่างการประกอบอาชีพมีหรือไม่ ผลเป็นอย่างไร มีการตรวจวัดสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในที่ประกอบอาชีพหรือไม่อย่างไร หยุดงานเนื่องจากการเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด มีการเบิกจ่ายจากกองทุนเงินทดแทนบ่อยแค่ไหน และมีการทำงานพิเศษที่อื่นหรือไม่ เนื่องจากการเจ็บป่วยอาจจะเกิดจากงานพิเศษก็ได้
           ข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ บางครั้งมีอาการคล้ายกับโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการซักถามถึงสภาพแวดล้อมที่บ้านจึงมีความจำเป็น เช่น มีโรงงานบริเวณที่พักหรือไม่มีแหล่งเก็บหรือทิ้งของสารเคมีมีพิษบริเวณใกล้เคียงบ้านหรือไม่ อาชีพของคู่ครองก็มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้ มลพิษบริเวณบ้านมีมากน้อยอย่างไร งานอดิเรกที่ทำเป็นประจำ เช่น การยิงปืนเป็นงานอดิเรกอาจทำให้เกิดหูเสื่อมจากเสียงดังได้ สารเคมีและสารฆ่าแมลงที่ใช้ภายในบ้าน
             - การทบทวนพิษวิทยาของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพที่พบในที่ประกอบอาชีพของผู้ป่วย เนื่องจากมีสารเคมีกว่า 70,000 ชนิดใช้ในโลก จึงสมควรทราบถึงแหล่งข้อมูลด้านพิษวิทยาเกี่ยวกับสารเคมีต่างๆ โดยเบื้องต้นอาจเริ่มจากฉลากที่ปิดมากับภาชนะบรรจุสารเคมี (material safety data sheet-MSDS) ซึ่งตามกฎหมายระบุให้ผู้ผลิตและนำเข้าสารเคมีต่างๆ ต้องมีฉลากดังกล่าวบ่งบอกถึงชื่อสารเคมี ผลต่อสุขภาพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
            - การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพกับอาการที่เกิดขึ้น (dose - response rela-tionship) โดยปกติอาการทางพิษวิทยาเป็นเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการรับสัมผัสสารที่เพิ่มขึ้น
            - การพิจารณาถึงสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคนอกเหนือจากการประกอบอาชีพ แพทย์ควรจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอื่นๆ นอกเหนือจากสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในที่ประกอบอาชีพ ที่อาจเป็นสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริง
            - การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ข้างต้น เพื่อสรุปผลว่าผู้ป่วยเป็นโรคเกิดจากการประกอบอาชีพหรือไม่ โดยสรุปจากการที่เจ็บป่วยเป็นโรคจริง และมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าการประกอบอาชีพมีผลให้เกิดโรคดังกล่าว หลังจากที่มีการวินิจฉัยโรคเกิดจากการประกอบอาชีพได้แล้ว การรักษาพยาบาลเป็นการให้การรักษาตามชนิดของโรค หากหลังการรักษาพยาบาลแล้วผู้ป่วยยังมีสมรรถภาพร่างกายไม่ปกติ ต้องมีการส่งผู้ป่วยเข้ารับการฟื้นฟูสภาพร่างกาย (physical rehabilitation) และหากมีความจำเป็นอาจต้องส่งผู้ป่วยเข้าทำการฟื้นฟูฝึกอาชีพ (vocational rehabilitation) ร่วมด้วย หลังจากการฟื้นฟูสภาพเสร็จสิ้นก่อนให้ผู้ป่วยกลับเข้าประกอบอาชีพ ต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมของผู้ป่วยกับงาน (fitness for work) โดยอาศัยหลักการเดียวกับการพิจารณาความเหมาะสมก่อนบรรจุเข้าประกอบอาชีพใหม่ข้างต้น
            โดยสรุปโรคเกิดจากการประกอบอาชีพ มีวิธีการต่างๆ ที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งควรยึดถือเป็นหลักการอันดับแรกและควรให้ความสำคัญมากกว่าการรักษาหรือฟื้นฟูสภาพ

โรคเกิดจากการประกอบอาชีพมีอยู่หลายโรค ทั้งนี้มีการจัดแบ่งโรคจากการประกอบอาชีพ 2 แบบ ด้วยกันกล่าวคือ
แบบที่1:โรคเกิดจากการประกอบอาชีพกองทุนเงินทดแทน
แบบที่2:โรคเกิดจากการประกอบอาชีพตามประวัติที่มีเกิดขึ้น

เพื่อให้นายจ้างได้จ่ายเงินทดแทน แก่ผู้ที่เกิดโรคเกิดจากการประกอบอาชีพ รัฐจึงได้ประกาศกฎหมายแรงงาน เพื่อกำหนดรายชื่อโรคเกิดจากการประกอบอาชีพ และโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ 32 โรค โดยรายชื่อโรคเกิดจากการประกอบอาชีพทั้ง 32 โรค ได้แก่
1. โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว
2. โรคจากแมงกานีสหรือสารประกอบของแมงกานีส
3. โรคจากสารหนูหรือสารประกอบของสารหนู
4. โรคจากเบอริลเลี่ยมหรือสารประกอบของเบอริลเลี่ยม
5. โรคจากปรอทหรือสารประกอบของปรอท
6. โรคจากโครเมี่ยมหรือสารประกอบของโครเมี่ยม
7. โรคจากนิเกิ้ลหรือสารประกอบของนิเกิ้ล
8. โรคจากสังกะสีหรือสารประกอบของสังกะสี
9. โรคจากแคดเมี่ยมหรือสารประกอบของแคดเมี่ยม
10. โรคจากฟอสฟอรัสหรือสารประกอบของฟอสฟอรัส
11. โรคจากคาร์บอนไดซัลไฟด์
12. โรคจากไฮโดรเจนซัลไฟด์
13. โรคจากซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์หรือกรดซัลฟูริค
14. โรคจากไนโตรเจนอ๊อกไซด์หรือกรดไนตริค
15. โรคจากแอมโมเนีย
16. โรคจากคลอรีนหรือสารประกอบของคลอรีน
17. โรคจากคาร์บอนมอนอกไซด์
18. โรคจากเบนซินหรือสารประกอบของเบนซิน
19. โรคจากฮาโลเจนซึ่งเป็นอนุพันธ์ของไฮโดรเจนกลุ่มน้ำมัน
20. โรคจากสารกำจัดศัตรูพืช
21. โรคจากสารเคมีอื่นหรือสารประกอบสารเคมีอื่น
22. โรคจากเสียง
23. โรคจากความร้อน
24. โรคจากความเย็น
25. โรคจากความสั่นสะเทือน
26. โรคจากความกดดันอากาศ
27. โรคจากรังสีไม่แตกตัว
28. โรคจากรังสีแตกตัว
29. โรคจากแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ
30. โรคจากฝุ่น
31. โรคติดเชื้อเกิดจากการประกอบอาชีพ
32. โรคอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการประกอบอาชีพ
ซึ่งชนิดของโรคเกิดจากการประกอบอาชีพมีอยู่มากมาย อาจแบ่งตามสาเหตุของสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ได้ดังนี้
1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
1.1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากความร้อน
1.2. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากความเย็น
1.3. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากเสียงดัง
1.4. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากแสงหรือรังสีที่ไม่แตกตัว
1.5. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากรังสีที่แตกตัว
1.6. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากความสั่นสะเทือน
1.7. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากความกดดันบรรยากาศ
2. โรคเกิดเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
2.1. โรคติดเชื้อเกิดจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
2.1.1. โรคบาดทะยัก
2.1.2. วัณโรค
2.1.3. โรคเลปโตสไปโรซิส
2.1.4. โรคแอนแทรกซ์
2.1.5. โรคบรูเซลโลซิส
2.1.6. โรคติดเชื้อเกิดจากการประกอบอาขีพที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ
2.2. โรคติดเชื้อเกิดจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
2.2.1. โรคเอดส์
2.2.2. โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส
2.2.3. โรคพิษสุนัขบ้า
2.2.4. โรคติดเชื้อจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ
2.3. โรคติดเชื้อจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากการติดเชื้อจุลชีพอื่นๆ
2.3.1. โรคติดเชื้อจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากการติดเชื้อคลาเมียเดียและริคเคทเซีย
2.3.2. โรคติดเชื้อจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากการติดเชื้อรา
2.3.3. โรคติดเชื้อจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิต
3. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากสารโลหะ
3.1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพแพ้พิษตะกั่ว
3.2. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพแพ้พิษแมงกานีส
3.3. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพแพ้พิษสารหนู
3.4. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพแพ้พิษโครเมียม
3.5. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพแพ้พิษแคดเมียม
3.6. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพแพ้พิษสังกะสี
3.7. โรคเกิดจากการประกอยอาชีพแพ้พิษฟอสฟอรัส
3.8. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพแพ้พิษนิกเกิล
3.9. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพแพ้พิษเบริลเลียม
3.10. โรคเกิดจากการประกอบอาชีแพ้พิษโลหะอื่นๆ

4. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากสารตัวทำละลาย หรือก๊าซ
4.1. โรคเกิดจากพิษตัวทำละลายกลุ่มไฮโดรคาร์บอน
4.1.1. โรคเกิดจากพิษตัวทำละลายอะลิฟาติก ไฮโดรคาร์บอน
4.1.2. โรคเกิดจากพิษตัวทำละลายอะลิไซคลิก ไฮโดรคาร์บอน
4.1.3. โรคเกิดจากพิษตัวทำละลายอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน
4.1.4. โรคเกิดจากพิษตัวทำละลายฮาโลจีเนทเต็ด ไฮโดรคาร์บอน
4.2. โรคเกิดจากพิษตัวทำละลายอื่นๆ
4.2.1. โรคที่เกิดจากพิษแอลกอฮอล์
4.2.2. โรคที่เกิดจากพิษอีเทอร์
4.2.3. โรคเกิดจากพิษคีโตน
4.2.4. โรคเกิดจากพิษไกลคอลและอนุพันธ์ของไกลคอล
4.2.5. โรคเกิดจากพิษเอสเตอร์และอัลดีไฮด์
4.3. โรคเกิดจากก๊าซกลุ่มที่ทำให้หมดสติ
4.3.1. โรคเกิดจากก๊าซพิษที่ทำให้หมดสติโดยการขาดออกซิเจน
4.3.2. โรคเกิดจากก๊าซพิษที่ทำให้หมดสติโดยปฏิกิริยาทางเคมี
4.4. โรคเกิดจากก๊าซกลุ่มที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
4.4.1. โรคจากก๊าซพิษซัลเฟอร์ไดออกไซด์
4.4.2. โรคจากก๊าซพิษแอมโมเนีย
4.4.3. โรคจากก๊าซพิษออกไซด์ของไนโตรเจน
4.4.4. โรคจากก๊าซพิษคลอรีนและก๊าซพิษอื่นๆ

                5. โรคผิวหนังเกิดจากการประกอบอาชีพ
5.1. โรคผิวหนังอักเสบระคายเคืองเกิดจากการประกอบอาชีพสัมผัสสารเคมี
5.2. โรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้
5.3. โรคผิวหนังอื่นๆเกิดจากการประกอบอาชีพ

6. โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ
6.1. โรคมะเร็งผิวหนัง
6.2. โรคมะเร็งปอด
6.3. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
6.4. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
6.5. โรคมะเร็งตับ
6.6. โรคมะเร็งจมูก
7. โรคปอดเกิดจากการประกอบอาชีพ
7.1. โรคปอดเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากฝุ่นสารอนินทรีย์
7.1.1. โรคปอดจากฝุ่นซิลิกา
7.1.2. โรคปอดจากฝุ่นแอสเบสตอส
7.1.3. โรคปอดจากฝุ่นสารอนินทรีย์อื่นๆ
7.2. โรคปอดเกิดจากการประกอบอาชีพที่มีสาเหตุจากฝุ่นสารอินทรีย์
7.2.1. โรคหอบหืดเกิดจากการประกอบอาชีพ
7.2.2. โรคถุงลมอักเสบจากภูมิแพ้ภายนอก
7.2.3. โรคบิสซิโนซิส
8. โรคระบบการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
8.1. โรคของกระดูกและข้อที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
8.1.1. กระดูกหัก
8.1.2. บาดเจ็บที่ข้อ
8.1.3. ภาวะปวดหลัง
8.2. โรคของกล้ามเนื้อและส่วนที่เกี่ยวข้องที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
8.2.1. การบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและเอ็น
8.2.2. การอักเสบของส่วนเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ
8.3. โรคของระบบประสาทเกิดจากการประกอบอาชีพ
8.3.1. หมอนรองกระดูกสันหลังเบียดหรือกดรากประสาท
8.3.2. เส้นประสาทถูกบีบหรือรัด
8.3.3. การบาดเจ็บต่อไขสันหลังและเส้นประสาท
8.4. โรคของกระดูกและข้อ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท ที่มีผลต่อการประกอบอาชีพ
8.4.1. โรคของกระดูกและข้อที่มีผลต่อการประกอบอาชีพ
8.4.2. โรคของกล้ามเนื้อและส่วนที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อการประกอบอาชีพ
8.4.3. โรคของระบบประสาทที่มีผลต่อการประกอบอาชีพ
9. โรคซึ่งเป็นผลโดยอ้อมเกิดจากการประกอบอาชีพ
9.1. โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
9.2. ความดันโลหิตสูง
9.3. โรคกระเพาะอาหาร
10. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพใช้จอภาพคอมพิวเตอร์
10.1. โรคมีผลต่อสายตาที่มีสาเหตุเกิดจากการประกอบอาชีพใช้จอภาพคอมพิวเตอร์
10.2. โรคมีผลต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่มีสาเหตุเกิดจากการการประกอบอาชีพใช้จอภาพคอมพิวเตอร์
10.3. โรคมีผลต่อระบบอวัยวะสืบพันธุ์ที่มีสาเหตุจากการใช้จอภาพคอมพิวเตอร์
10.4. โรคมีผลต่อระบบอวัยวะอื่นๆ ที่มีสาเหตุจากการใช้จอภาพคอมพิวเตอร์
11. โรคเป็นผลกระทบเกิดจากการประกอบอาชีพเป็นกะ
11.1. ผลกระทบเกิดจากการประกอบอาชีพเป็นกะต่อสุขภาพทั่วไป
11.2. ผลกระทบเกิดจากการประกอบอาชีพเป็นกะต่อผู้มีปัญหาสุขภาพ
11.3. ผลกระทบเกิดจากการประกอบอาชีพเป็นกะต่อความปลอดภัยและการดำเนินชีวิตทางสังคม
12. โรคความเครียดเกิดจากการประกอบอาชีพ
13. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
13.1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพใช้เครื่องจักรกลในอาชีพเกษตรกรรม
13.2. โรคเกิดจากประกอบอาชีพใช้สารเคมีในอาชีพเกษตรกรรม
โรคเหตุอาชีพ
โรคเหตุอาชีพ, โรคที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน, โรคภัยเนื่องจากอาชีพ, หรือ โรคเกิดจากงาน (occupational disease) ได้แก่บรรดาโรคเรื้อรังอันมีสาเหตุมาแต่การปฏิบัติงานหรือการดำเนินกิจกรรมอื่นใดซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอาชีพ โรคเหตุอาชีพมักจะระบุตัวได้เมื่ออาการของโรคปรากฏ ณ ร่างกายของผู้ประกอบอาชีพหรือในหมู่ผู้ประกอบอาชีพแล้ว ทั้งนี้ ภยันตรายจากงานอาชีพ (occupational hazard) ซึ่งมีลักษณะเป็นแผลบาดเจ็บ (trauma) เช่น อันซึ่งเกิดจากการตกร่วงลงจากที่สูงของคนงาน มักไม่จัดเข้าเอาเป็นโรคเหตุอาชีพ
โรคเหตุอาชีพอันเป็นที่รู้จักมาก เป็นต้นว่า
  • โรคใยหินที่ปอด (asbestosis) ซึ่งมักเกิดกับผู้ใช้แรงงานในฉนวนแร่ใยหินเปราะบาง (friable asbestos insulation)
  • ภาวะฝุ่นจับปอด (pneumoconiosis) ซึ่งเกิดจากแร่ถ่านหิน
  • กลุ่มอาการคาร์ปัล ทันเนล (median neuropathy at the wrist หรือ carpal tunnel syndrome) ซึ่งมักเกิดกับผู้ประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก
  • การแพ้รังสี (radiation sickness) ซึ่งมักเกิดกับผู้ประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์โรคขากรรไกรตายเหตุฟอสฟอรัส (phossy jaw) เช่นที่เกิดในเหตุการณ์ประท้วงของผู้จำหน่ายไม้ขีดไฟในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2431 โดยการประท้วงดังกล่าวสืบเนื่องมาจากภาวะค่าแรงงานต่ำของผู้จำหน่ายไม้ขีดไฟ และบุคคลดังกล่าวยังประสบปัญหาทางสุขภาพอันเป็นผลมาจากฟอสฟอรัสเหลืองหรือฟอสฟอรัสขาวที่ได้สัมผัสอีกด้วย[1]
  • โรคขากรรไกรตายเหตุรังสี (radium jaw)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น